- ทำความรู้จัก! Chelation Therapy ตัวช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
- การได้รับสารโลหะหนัก ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ
- ใครเหมาะกับการทำ Chelation Therapy
- ประโยชน์ของการทำคีเลชั่น
- ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำคีเลชั่น
- การดูแลตัวเองก่อนและหลังการทำคีเลชั่น
- Chelation Therapy มีขั้นตอนอย่างไร
- FAQ รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับคีเลชั่น พร้อมคำตอบ
Chelation Therapy เทคนิคล้างพิษหลอดเลือด ฟื้นฟูร่างกาย
คีเลชั่นบำบัด ( Chelation Therapy) คือ การบำบัดเพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เรามีโอการรับสิ่งที่เรียกว่า “โลหะหนัก” เข้าไป ไม่ว่าจากการรับประทานอาหาร หรือการปนเปื้อนในอากาศ ซึ่งโลหะเหล่านี้ก็อย่างเช่น ปรอท ตะกั่ว เหล็ก สารหนู แคดเมียม และอื่นๆ หากร่างกายรับสารพวกนี้จนเกิดการสะสมที่มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษเหล่านี้ออกไปได้หมด คีเลชั่นบำบัดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ
ทำความรู้จัก! Chelation Therapy ตัวช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
คีเลชั่นคือหัตถการที่ช่วยล้างสารพิษในหลอดเลือดเพื่อกำจัดโลหะหนัก และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ หลักการทำงานของคีเลชั่นคือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติที่ไปดูดซับดักจับโลหะหนักในเลือด และขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งจะทำการให้ยาผ่านทางเส้นเลือด ก่อนทำการรักษานั้น แพทย์จะต้องทำการตรวจเลือด เพื่อตรวจดูว่าร่างกายของคุณมีโลหะหนักหรือไม่ การทำงานของไต และหลอดเลือดเป็นอย่างไร
การได้รับสารโลหะหนัก ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ
โลหะหนักถือเป็นภัยอันตรายที่หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึง ซึ่งในปัจจุบันการรับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกายถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายดาย เพราะโลหะหนักเหล่านี้ส่งผ่านมายังร่างกายของเราผ่านการรับประทานอาหาร การสัมผัสข้าวของเครื่องใช้ เครื่องสำอาง และการหายใจเอามลพิษเข้าไป เป็นต้น โลหะหนักที่ว่าก็คือ ปรอท สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว อะลูมิเนียม และนิกเกิ้ล หากร่างกายรับโลหะหนักเหล่านี้มากเกินไป อาจเกิดอาการเตือนเหล่านี้ เช่น
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
อาการอ่อนเพลียมักเกิดจากการรับเอาโลหะหนักประเภทสารหนู อลูมิเนียม และแทลเลียมเข้าไป ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้จะเข้าไปทำลายความสามารถในการสร้างพลังงานของร่างกายจึงทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า แม้จะพักผ่อนเต็มที่
- ปวดศีรษะ
มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบทางสุขภาพของสารโลหะหนักจำพวกปรอทและพบว่า อาการที่พบบ่อยที่สุดคืออาการปวดศีรษะ ซึ่งมักเกิดจากการสัมผัสโลหะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
- โรคปอด หอบหืด หายใจติดขัด
การรับโลหะหนักเข้าไปในร่างกายจากการรับฝุ่นผงโลหะส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอดได้ บุคคลที่มีความเสี่ยงอย่างเช่น ช่างเชื่อมโลหะต่างๆ หากรับแคดเมียมเข้าไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หรือหากรับแคดเมียม แพลตินัม นิกเกิ้ล โครเมียม หรือโคบอลต์เข้าไป ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคหอบหืดได้ เป็นต้น
- นอนไม่หลับ
การได้รับโลหะหนักประเภทปรอทเข้าไปในร่างกายอย่างต่อเนื่อง มีส่วนทำให้เกิดโรค Erethism หรือเรียกอีกอย่างว่า Mad Hatter disease ซึ่งโรคดังกล่าวทำให้เกิดความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดอาการความจำเสื่อม กระวนกระวาย ซึมเศร้า ขาดความมั่นใจ และโรคนอนไม่หลับนั่นเอง
- เกิดผื่นภูมิแพ้
อาการแพ้โลหะสามารถเกิดได้ในบริเวณเล็กๆ ไม่รุนแรง จนถึงขั้นรุนแรง และขายบริเวณกว้างได้ ซึ่งอาการที่ปรากฏให้เห็นได้ก็อย่างเช่น โรคผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis) ทำให้เกิดผื่นแดง คัน และบวม ทั้งยังสามารถพัฒนาไปเป็นลมพิษได้อีกด้วย
ใครเหมาะกับการทำ Chelation Therapy
Chelation Therapy เป็นหัตถการที่ช่วยล้างพิษจากโลหะหนักภายในร่างกายได้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเรานั้นเหมาะหรือมีความจำเป็นหรือมากน้อยแค่ไหนในการทำคีเลชั่น มาดูกันว่าการทำคีเลชั่นนั้นเหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ หากคุณต้องการดูแลสุขภาพ และลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากโลหะหนัก การทำคีเลชั่นถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาสุขภาพ และกำจัดสารพิษที่สะสมก่อนที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมา
- ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย วิงเวียน หรือปวดศีรษะ
- ผู้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ เช่น การอุดตันของหลอดเลือด จากไขมันในเลือดสูง การดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม และมีภาวะเครียด
- ผู้ที่สัมผัสโลหะหนักเป็นประจำ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสัมผัสโลหะหนักต่างๆ เช่น คนเหมือง ช่างเชื่อม ช่างเจียรไน และบุคคลที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ประโยชน์ของการทำคีเลชั่น
การทำหัตถการคีเลชั่นเป็นกระบวนการล้างสารพิษจากโลหะหนักที่สะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตั้งแต่อาการระยะสั้น ไปจนถึงกลุ่มโรคร้ายแรง เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น โดยประโยชน์ของการทำ Chelation Therapy ก็มีดังต่อไปนี้
- ลดสารพิษตกค้าง การทำคีเลชั่นจะช่วยล้างสารพิษจากโลหะหนัก และขับออกทางปัสสาวะ
- ลดความดันโลหิต ปรอท แคดเมียม และโลหะหนักอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ การกำจัดสารเหล่านี้จึงช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
- บรรเทาอาการหอบหืด ภูมิแพ้ การสูดดม สัมผัสรับเอาผงแร่ หรือโลหะหนักเข้าไปเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการแพ้ และโรคทางเดินหายใจ คีเลชั่นจึงช่วยในการขับโลหะหนักที่สะสมออกไปได้ และลดโอกาสเกิดอาการแพ้ หรือดรคหอบหืดได้
- ลดอาการอ่อนเพลีย โลหะหนักทำให้ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) หรือแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เมื่อล้างสารพิษออกไปจึงทำให้ร่างกายกลับมาสดชื่นอีกครั้ง
- ลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็ง การสัมผัส สูดดม และรับโลหะหนัก เช่น แคดเมียมเข้าไปมีโอกาสทำให้เกิด Carcinogenesis ในเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งก็คือการที่เซลล์ปกติ แข็งแรง แปรเปลี่ยนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เพราะฉะนั้น เมื่อทำคีเลชั่นจึงมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำคีเลชั่น
ถึงแม้การทำคีเลชั่นบำบัดจะมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย แต่ทว่าในการทำหัตถการ หรือการรักษาต่างๆ ก็ย่อมมีผลข้างเคียง และข้อควรระวังบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงจากการทำคีเลชั่น มีดังต่อไปนี้
- อ่อนเพลีย เกิดจากการขับของเสียออกทางร่างกาย ช่วงนี้ควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ
- แสบร้อนบริเวณที่ให้ยาผ่านเส้นเลือด เป็นอาการที่พบได้บ่อย และไม่เป็นอันตราย
- ระดับแร่ธาตุจำเป็นของร่างกายลดลง ในกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกาย ส่งผลให้เกิดการขับโลหะ และแร่บางอย่างที่ร่างกายต้องการไปด้วย ซึ่งการทำคีเลชั่นในบางครั้งจึงได้มีการเพิ่มวิตามิน และแร่ต่างๆ เข้าไปด้วย เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็น
การดูแลตัวเองก่อนและหลังการทำคีเลชั่น
การให้ความสำคัญของการดูแลัวเองทั้งก่อนและหลังการทำคีเลชั่นเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนการทำก็ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการรักษาที่ราบรื่น และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองหลังจากทำคีเลชั่นเพื่อการพักฟื้นที่รวดเร็ว
ก่อน
- งดทานอาหารเสริมที่มีแร่ธาตุต่างๆ 24 ชั่วโมงก่อนทำคีเลชั่น
- แพทย์ทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต และระดับอิเลคโทรไลท์ในกระแสเลือด
- เมื่อรับการฉีด EDTA ปัสสาวะจะถูกเก็บเพื่อตรวจหาระดับโลหะหนักที่อยู่ในกระแสเลือด
หลัง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- งดการดื่มแอลกออล์ และการสูบบุหรี่ในระหว่าง และหลังการทำตีเลชั่นบำบัด
Chelation Therapy มีขั้นตอนอย่างไร
ขั้นตอนการทำ Chelation Therapy มีดังต่อไปนี้
- ทำการตรวจร่างกาย มีการซักประวัติ และตรวจเลือดดูการทำงานของไต เนื่องจากของเสียจะถูกขับออกทางไตผ่านปัสสาวะ
- ทำการให้สารน้ำที่เรียกว่า EDTA ผ่านทางเส้นเลือดดำ (IV) หรือให้ยาทาน ซึ่งสารนี้จะเข้าไปทางกระแสเลือดและกำจัดสารพิษออกมาทางปัสสาวะ พร้อมให้วิามินเสริมเพื่อชดเชยวิตามิน และแร่ธาตุบางส่วนที่ถูกขับออกไปพร้อมกับของเสีย
FAQ รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับคีเลชั่น พร้อมคำตอบ
หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัด บทความนี้ได้รวบรวมคำถามและคำตอบยอดฮิตที่หลายๆ คนสงสัยเกี่ยวกับ Chelation Therapy
คีเลชั่นคืออะไร
คีเลชั่นคือการกำจัดของเสีย ล้างสารพิษจากโลหะหนักที่เข้าไปยังร่างกาย โดยผ่านกระบวนการรักษาผ่านหลอดเลือดดำ ที่เรียกว่า EDTA เพื่อเข้าไปดักจับโลหะที่สะสมอยู่ในร่างกาย และขับออกมาทางปัสสาวะ
ทำคีเลชั่นได้บ่อยแค่ไหน
การทำคีเลชั่น สามารถทำได้บ่อยถึงสัปดาห์ละครั้ง และทำต่อเนื่องอีก 10-20 ครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล อาการของโรค และดุลยพินิจของแพทย์
คีเลชั่นปลอดภัยไหม
คีเลชั่นมีความปลอดภัยหากทำการรักษาอย่างถูกวิธี และเลือกรับบริการจากสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้
คีเลชั่นมีผลข้างเคียงหรือไม่
ผลข้างเคียงก็อาจเกิดขึ้นจากการทำคีเลชั่น เช่น อาการแสบร้อนบริเวณที่ทำการฉีดยาผ่านเส้นเลือด มีไข้หนาวสั่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ผลข้างเคียงร้ายแรงที่พบ อาจทำให้ระดับแคลเซียม และแร่ธาตุจำเป็นในร่างกายลดลง ชัก ความดันต่ำ อาการแพ้ เป็นต้น
Chelation Therapy ราคาเท่าไหร่
การทําคีเลชั่นราคาจะเริ่มต้นที่ราวๆ 3,500 บาท ขึ้นไปต่อครั้ง